top of page

ข่าวกฎหมายใหม่

Business Meeting

ศาลยุติธรรมไทยใช้อำนาจคุ้มครองผู้เสียหายจากการซื้อสินค้าออนไลน์

21 ธันวาคม 2564 โดย FAREAST

     ศาลแพ่งแยกคดีซื้อขายออนไลน์ ในเขตอำนาจของศาลแพ่ง เป็นแผนกต่างหากจากคดีผู้บริโภคทั่วไป เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการเยียวยาความเสียหายจากการถูกเอารัดเอาเปรียบจากการประกอบธุรกิจไม่สุจริต


     นางสาวปิยกุล บุญเพิ่ม ประธานศาลฎีกา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้จัดตั้งแผนกในศาลแพ่งตาม “ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีซื้อขายออนไลน์ในศาลแพ่ง”

Link : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/A/087/T_0037.PDF


มีประเด็นน่าสนใจ ดังนี้
 

  1. จัดตั้งแผนกคดีซื้อขายออนไลน์ขึ้นในศาลแพ่ง โดยให้มีอำนาจพิจารณาคดี ดังต่อไปนี้
         (1) คดีซื้อขายออนไลน์ที่เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลแพ่ง
         (2) คดีซื้อขายออนไลน์ที่ศาลแพ่งรับไว้พิจารณาพิพากาตามมาตรา 16 วรรคสาม และมาตรา 19/1 แพ่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
         ให้ใช้ระบบการดำเนินคดีอิเล็กทรอนิกส์แบบเท่านั้น!!! หากขอดำเนินคดีตามรูปแบบการพิจารณาที่ศาลปกติ จะไม่ถือเป็นคดีของแผนกคดีซื้อขายออนไลน์

     

  2. ให้คดีซื้อขายสินค้าออนไลน์ เป็นคดีผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 3 (1) ที่เกิดจากการซื้อขายสินค้าหรือบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
     

  3. ไม่ห้ามโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีปกติ
     

  4. ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีซื้อขายออนไลน์ในศาลแพ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคน และให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งจัดให้ผู้พิพากษาที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านคดีซื้อขายออนไลน์จำนวนตามที่เห็นสมควร เป็นผู้พิพากษาประจำแผนก มีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณาพิพากษาคดีซื้อขายออนไลน์ ตลอดจนช่วยเหลือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกในการบริหารและดำเนินงานต่าง ๆ ของแผนกให้เป็นไปโดยเรียบร้อย
     

  5. แผนกคดีซื้อขายออนไลน์ในศาลแพ่งจะเริ่มทำการเมื่อใด ให้เป็นไปตามประกาศของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง และให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งรักษาการตามประกาศนี้

bottom of page